– เดินสำรวจตลาดก่อน ว่าแถวนั้นขายกันที่เท่าไหร่ เราจะได้ขายราคาถูกลงมาหรือเท่ากับร้านเขาก็ได้ แต่เราต้องเพิ่มไม้เด็ดในรสชาติอาหารที่อร่อยกว่า

– พิจารณาถึงกลุ่มเป้าหมายว่าของเราคือใคร ซึ่งกลุ่มลูกค้ามีหลายประเภท เช่น คนทำงาน ชาวบ้านทั่วไป พวกคนขับรถแท็กซี่ หรือแม้แต่เด็กเล็กในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ด้วยกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดราคาขายข้าวแกงในร้านคุณได้ว่าจะขายในราคาเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

– เมนูข้าวแกงพื้นฐานที่ต้องมีขาย ไข่พะโล้ แกงเขียวหวาน แกงข่าไก่ ผัดผักรวม พะแนงหมู กระเพาะไก่ ต้มจับฉ่าย ต้มผักกาดขาวหมูสับ หมูทอด หมูยอ กุนเชียง ไข่ต้ม ไข่ดาว

– ต้องทำอาหารให้อร่อยกว่า สะอาดกว่า บริการดีกว่า ราคาถูกกว่า

– ร้านสะอาด ต้องไม่มีแมลงวันบินในตู้อาหาร

– มีของเสริมให้เลือกทาน เช่น ของหวาน ลอดช่องน้ำกะทิ บัวลอย ลูกตาลเชื่อม

– จัดที่นั่งให้เหมาะสมกับขนาดของร้าน ไม่อัดแน่นจนเกินไป และต้องมีพร้อมสำหรับลูกค้าเข้ามานั่งทานในร้าน

– การปรุงอาหารต้องสะอาด รสชาติอร่อย ทั้งมีสีสันน่าทาน

– หม้อ กะละมัง และถาดที่ใส่อาหารขาย ควรเป็นสแตนเลส เพราะใช้งานได้ทนทานปลอดภัย ทำให้ดูน่ารับประทานกว่าอลูมิเนียม และสัดส่วนในการบรรจุอาหารใส่ภาชนะ ควรเป็น ¾ หรือ อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของภาชนะ

– บริการลูกค้าด้วยความรวดเร็ว และมีอัธยาศัยที่ดี พ่อค้าแม่ค้าควรยิ้มแย้ม พูดจาไพเราะ

– ขายในราคากันเอง ราคาขายแกง 1 อย่าง 25 บาท 2 อย่าง 30 บาท

 

สำหรับปัญหาหรืออุปสรรค ในการเปิดร้านข้าวแกง คือเรื่องของการลงทุนโดยไม่มีการคิดหรือคำนวณต้นทุน เมนูอาหารที่ทำในแต่ละวันต้องมีการคิดคำนวณอย่างดีเช่น ทำอาหาร 10 อย่าง ควรเป็นอาหารที่ลงทุนสูง ประเภท หมูไก่ไม่เกิน 5 อย่าง ส่วนที่เหลือควรเป็นอาหารประเภทผัก น้ำพริกที่ลงทุนไม่มาก และที่สำคัญควรมีจุดขายของร้านโดยเฉพาะ เช่น มีเมนูหนึ่งที่เราถนัดที่สุดที่จะเป็นเมนูเด็ดของร้านได้ เพื่อจะได้เป็นการเรียกลูกค้าให้เข้ามาร้านเราได้ ที่หาทานที่ไหนไม่ได้นอกจากร้านของเรา

 

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงคำแนะนำในการเปิดร้านข้าวแกง ที่สำคัญต้องทำในสิ่งที่เราทำแล้วมีความสุข ถึงจะไม่ถนัดในตอนแรก แต่ค่อย ๆ ฝึกฝนฝีมือ พัฒนาต่อยอดขึ้นไปเรื่อย ๆ สักวันเราก็จะสำเร็จได้เหมือนคนอื่น ๆ ได้เช่นกัน